โครงสร้าง
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์มี โดยมีโครงสร้างการบริหารงานดังนี้
- - ผอ.ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ (1)
- - ผู้จัดการด้านวิชาการ (1)
- - ผู้จัดการด้านคุณภาพ (1)
- - ผู้ช่วยผู้จัดการด้านคุณภาพ (1)
- - เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ (6)
ปัจจุบันผู้ปฏิบัติงานได้รับใบรับรองสากลด้านการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล ประกอบด้วย
- - GIAC Certified Forensic Examiner : GCFE (4)
- - GIAC Certified Forensic Analyst : GCFA (2)
- - GIAC Penetration Tester : GPEN (1)
- - GIAC Penetration Tester : GPEN (1)
- - EnCase Certified Examiner : EnCE (1)
- - AccessData Certified Examiner : ACE (6)
- - AccessData Mobile Examiner : AME (3)
- - Certified Information Systems Security Professional : CISSP (1)
- - Information Technology Professional Examination : ITPE (2)

ขั้นตอนการให้บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน
ความเป็นมา
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ (Digital Forensics Center: DFC) เป็นส่วนงานที่จัดตั้งขึ้นภายใน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. เพื่อให้บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล มีการบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการตามมาตรฐาน มอก. 17025:2548 (ISO 17025:2005) ศูนย์ฯ สามารถตรวจวิเคราะห์พยานหลักฐานดิจิทัล จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ ให้การสนับสนุนทางเทคนิค และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการกับพยานหลักฐานดิจิทัล รวมถึงให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัลจากสถานที่เกิดเหตุ โดยศูนย์ฯ ได้เปิดให้บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา และได้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล และสร้างความเชื่อมั่นในบริการต่อผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
คู่มือการให้บริการ
- การแจ้งความประสงค์ขอรับบริการ หน่วยงานต้องมีหนังสือเป็นทางการ เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันศูนย์ฯ ให้บริการแก่หน่วยงาน 4 ประเภท ได้แก่
- ก. หน่วยงานรักษากฎหมาย หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
- ข. หน่วยงานภาครัฐ
- ค. สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ง. หน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ
- เมื่อผู้ขอรับบริการและศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ตกลงร่วมกันในประเด็นที่จะตรวจพิสูจน์แล้ว ให้ผู้ขอรับบริการกรอกแบบฟอร์มขอรับบริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล (CSF-441)
- ในกรณีที่ผู้ขอรับบริการมิใช่บุคคลเดียวกับเจ้าของ/ผู้ครอบครองพยานหลักฐาน ต้องให้เจ้าของ/ผู้ครอบครองพยานหลักฐานลงนามยินยอมให้ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ดำเนินการตรวจพิสูจน์ในแบบฟอร์ม CSF-441 ด้วย
- ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์จะไม่เปิดเผยพยานหลักฐานและรายงานการตรวจพิสูจน์แก่บุคคลใด เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของ/ผู้ครอบครองพยานหลักฐาน หรือเป็นการเปิดเผยแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งศาล หรือเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนด
- ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์จะให้บริการด้วยวิธีการอันพึงปฏิบัติตามที่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายอย่างใดๆ อันอาจเกิดมีขึ้น เว้นแต่ เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
- ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์จะให้บริการด้วยวิธีการอันพึงปฏิบัติตามที่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายอย่างใดๆ อันอาจเกิดมีขึ้น เว้นแต่ เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
นโยบายคุณภาพ (Quality Policy)
“มุ่งมั่นให้บริการที่มีคุณภาพ ด้วยบุคลากรมืออาชีพและเครื่องมือที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล พัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบความต้องการของผู้ใช้บริการ ส่งมอบงานที่ถูกต้องครบถ้วนและทันเวลา”
ประเภทของบริการ
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ให้บริการ ตรวจพิสูจน์อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น
- - คอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์พีซี เซิร์ฟเวอร์ แล็ปท็อป
- - เครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต
- - สื่อบันทึกข้อมูลดิจิทัล เช่น flash drive, memory card, portable hard disk เป็นต้น
พันธกิจ (Mission)
“ให้บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลแก่หน่วยงานสำคัญของประเทศ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา”
วัตถุประสงค์ (Objective)
“เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล และสร้างความเชื่อมั่นในบริการต่อผู้ใช้บริการ”
ช่องทางติดต่อขอรับบริการ
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
อาคารเดอะ ไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า (อาคารบี) ชั้น 20 เลขที่ 33/4 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310