TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

About ETDA

ข่าวสารและกิจกรรม

คลังความรู้

Crowdfunding: Investment Revolution คุณพร้อมหรือยังสำหรับการระดมทุนในรูปแบบใหม่? (ตอนจบ)

อื่นๆ Documents
  • 25 May 15
  • 3

Crowdfunding: Investment Revolution คุณพร้อมหรือยังสำหรับการระดมทุนในรูปแบบใหม่? (ตอนจบ)

โดย นายอรรถพล พานิชย์ไพศาลกูล
เจ้าหน้าที่กฎหมาย สำนักกฎหมาย

 Crowdfunding การลงทุนที่มาพร้อมกับความเสี่ยง

แม้การลงทุนแบบด้วยวิธี Crowdfunding จะทำให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนสูง แต่ในขณะเดียวกันนักลงทุนต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายอย่างเช่น

  1. Risk of default and investment failure: ในปี2009 IOSCO ได้ทำการสรุปอัตราความเสี่ยงในการผิดสัญญาและกิจการประสบความล้มเหลวทั่วโลกซึ่งสูงถึง 50% และความเสี่ยงในการผิดสัญญากู้สูงถึง30% หรือเมื่อพิจารณาจากข้อมูลสถิติเว็บไซต์ Kickstarter  พบว่าตั้งแต่มีการเปิดให้บริการเว็ปไซต์  มีโครงการที่ประสบความสำเร็จเพียง 78,233 โครงการเท่านั้น จากโครงการทั้งหมด 206,151 โครงการ
  2. Risk of platform closure ความเสี่ยงในการปิดตัวของอินเทอร์เน็ตที่เป็น Platform ของ Crowd funding
  3. Risk of Fraud ความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง หรือฉ้อโกง
  4. Risk of Cyber-attack โดยสภาพของ Crowdfunding ที่กระทำผ่านทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น

กฎหมาย และการกำกับดูแล Investment-based Crowdfunding

 Crowdfunding ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ของนวัตกรรมทางการเงิน (Financial innovation) โดย MIT Technology Review ได้จัดให้ Crowdfunding เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี ค.ศ.2012 และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศหนึ่งที่เห็นความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจรูปแบบดังกล่าว จึงได้ทำการยกร่างกฎหมายเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมการระดมทุนของผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้น (The Jumpstart Our Business Startups: JOBS Act) โดยเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2013 คณะกรรมการ Securities & Exchanges Commission (SEC) ได้เสนอร่างกฎหมาย Crowdfunding ซึ่งบรรจุใน Title III of JOBS Act แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงและยังไม่ได้มีการใช้บังคับ ทั้งนี้คณะกรรมการ SEC มีแผนที่จะออกร่างกฎหมายฉบับสมบูรณ์ ภายในเดือนตุลาคมปีนี้ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม ประกอบกิจการได้อย่างกว้างขวาง โดยกฎหมายจะเข้ามาควบคุมเพียงบางส่วน ตัวอย่างเช่น กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการ funding portal ไม่ถูกกำกับดูแลแบบบริษัทหลักทรัพย์ และยกเว้นการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับบริษัทที่ต้องการระดมทุน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบกิจการได้รับภาระในการดำเนินธุรกิจมากจนเกินไป

 นอกจากนี้ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย และสหราชอาณาจักร ต่างให้ความสนใจการระดมทุนแบบ Investment-based Crowdfunding ตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ผ่านร่างกฎหมายเพื่อสนับสนุน Crowdfunding โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ขายหุ้นของตนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น หรือในประเทศออสเตรเลีย ได้มีการจัดตั้ง Australian Small Scale Offerings Board (ASSOB) เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยในการระดมทุนผ่านทาง Crowdfunding

 สำหรับประเทศไทยนั้น เพื่อที่จะส่งเสริมและสนันสนุนการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง Crowdfunding portal ให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย มาตราฐานเทียบเท่านานาประเทศ ในส่วนการกำกับดูแลการซื้อขายหุ้น ในรูปแบบ Investment-based Crowdfunding นั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกเอกสารรับฟังความคิดเห็น “การออกกฎเกณฑ์เพื่อการส่งเสริมและกำกับดูแลการระดมทุน โดยผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (Crowdfunding) (เลขที่ อกม. 39 /2557)” เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับกรอบของกฎหมายสำหรับการกำกับดูแล Investment-based Crowdfunding

 กล่าวได้ว่าประเทศไทยได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการระดมทุนผ่านทาง Crowdfunding อันเป็นตลาดของการระดมทุนรูปแบบใหม่เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจ SME อันเป็นหัวใจหลักในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดีคงต้องติดตามกันต่อไปว่าทิศทางของกฎหมายที่จะเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน Crowdfunding ในประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้

 แหล่งอ้างอิง 

 

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)