TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

"e-Trading and service" การซื้อขายสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ Documents

"e-Trading and service" การซื้อขายสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์

e-Trading and service
การซื้อขายสินค้าและบริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบไปด้วยผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มและระบบเครือข่ายในการซื้อขาย

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ทางอิเล็กทรอนิกส์

1.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ทางอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการซื้อขายหลักทรัพย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จำนวนบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และจำนวนลูกค้าที่มีการเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์แ

แผนภาพที่ 1 จำนวนบริษัทหลักทรัพย์ และจำนวนลูกค้าที่เปิดบัญชีเพื่อซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

P1(4).jpg
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จำนวนบริษัทหลักทรัพย์ และจำนวนลูกค้าที่เปิดบัญชีในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 31 และ 955,890 ราย ตามลำดับซึ่ง อัตราการเติบโตของจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้    ร้อยละ 16.83 ในขณะที่อัตราการเติบโตของบริษัทหลักทรัพย์ มีเพียงร้อยละ6.9 อย่างไรก็ตามหากพิจารณาแนวโน้มอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 พบว่าจำนวนลูกค้าที่เปิดบัญชีมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 29.3  

1.2 สถานภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน
ปัจจุบันการซื้อขายหลักทรัพย์สามารถกระทำได้ 2 ช่องทาง คือ การซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดในสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ และการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Trading) เป็นอีกช่องทางที่รองรับการซื้อขายโดยมีจุดเด่นที่ นักลงทุน สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ด้วยตัวเอง ทุกที่ ทุกเวลา

แผนภาพที่ 2 มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ จำแนกตามช่องทางการซื้อขายต่าง ๆ
P2(5).jpg
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 2558 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 29,684,294 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตจากปี 2557 ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 22,277,719 ล้านบาท มากถึงร้อยละ 33.2 ซึ่งมาจากการเติบโตจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีอัตราการเติบโตมากกว่าปี 2557 ร้อยละ 54.0 อย่างไรก็ดีหากพิจารณาอัตราการเติบโตตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 จะเห็นได้ว่าการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 21.7 ซึ่งมากกว่าการซื้อขายไม่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 17.5
P3(4).jpg

2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

2.1 สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน
มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แสดงยอดขายของผู้ประกอบการประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจด้วยกันเอง (B2B) การทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) และการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจกับหน่วยงานภาครัฐ (B2G) ผลการสำรวจ e-commerce ในปี 2557 และการคาดการณ์ในปี ๒๕๕๘ มีการกำหนดกรอบประชากรโดยรวมผู้ประกอบการ e-commerce ทั้งสิ้น 502,676 ราย ซึ่งเป็นการกำหนดกรอบประชากรที่แตกต่างจากการสำรวจในปี 2556 โดยรวมผู้ประกอบการ e-commerce รายใหญ่ที่มีผลประกอบการ e-commerce มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาทต่อปี เข้ามาในกรอบประชากรการสำรวจในปี 2557 ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบมูลค่า e-commerce ในการสำรวจในปี 2557 กับปีก่อนๆได้ แผนภาพที่ 3 มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ ปี พ.ศ. 2557

แผนภาพที่ 3 มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ ปี พ.ศ. 2557

P4(2).jpg
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ ส่วนงานดัชนีและสำรวจ สำนักยุทธศาสตร์ สพธอ.
มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2558 มีมูลค่าประมาณ 2,107,692.88 ล้านบาทซึ่งเติบโตจากปี 2557 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 2,033,493,.36 ถึงร้อยละ 3.7 โดยจำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ ระหว่างปี 2557 - 2558 พบว่า ธุรกิจ B2C  B2G เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตสูงขึ้นร้อยละ 15.3 และ 4.0 ตามลำดับ แต่พบว่า B2B มีอัตราการเติบโตที่ลดลงร้อยละ 0.3  ส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2558  จะพบว่าอันดับ 1  B2B สูงถึงร้อยละ 58.4  อันดับ 2  B2C ร้อยละ 22.5 และ อันดับ 3 B2G ร้อยละ 19.1
P5(1).jpg