TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

Knowledge Sharing

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! DIGITAL ID กับ ข้อเสนอแนะ มาตรฐานฯ ของ ETDA ใครต้องใช้ ? และใช้ยังไง ??

Digital Service Documents
  • 01 มิ.ย. 65
  • 1181

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! DIGITAL ID กับ ข้อเสนอแนะ มาตรฐานฯ ของ ETDA ใครต้องใช้ ? และใช้ยังไง ??

Digital ID คำสุดฮิตได้ยินบ๊อยบ่อย แต่เอ๋ ? สงสัยจัง ETDA ทำอะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคำนี้กันน้า ถ้าสงสัยและสนใจ ETDA พอจะตอบข้อสงสัยได้หรือเปล่า

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้มาทั้งที ต้องตอบคำถามเรื่องที่เขาถามเข้ามาบ่อยๆ แน่นอน ! เตรียมพบกบ เอ้ย พบกับ...
❓การทำ Digital ID กรณีไหนถึงต้องทำตามข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ของ ETDA
❓การพิสูจน์และยืนยันตัวตนบุคคลที่เป็นสัญชาติไทยตามข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ของ ETDA ต้องขออนุญาตจาก ETDA ก่อนไหม ?
❓การจะนำ Digital ID มาใช้ในหน่วยงานหรือองค์กร จะต้องทำตามข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ที่ ETDA เสนอแนะไว้หรือไม่

1. การทำ Digital ID กรณีไหนถึงต้องทำตามข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ของ ETDA ?

ตอบ : ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ด้าน Digital ID ที่ ETDA จัดทำขึ้น เป็นข้อกำหนดสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแก่บุคคลภายนอก
👉🏻ดังนั้นหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการเป็นผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (identity provider: IdP) ซึ่งต้องการแจ้งกับผู้อาศัยการยืนยันตัวตน (relying party: RP) ว่าตนเองมีระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (Identity Assurance Level : IAL) ระดับใด เพื่อให้ผู้อาศัยการยืนยันตัวตน (RP) พิจารณาระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (IAL) ของผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (IdP) ที่ตรงกับความต้องการของผู้อาศัยการยืนยันตัวตน (RP) นั้น
อ่านต่อ ประกาศข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เวอร์ชัน 2.0 จำนวน 3 ฉบับ

GQ_7_wait-FAQ-Consult-_2-copy-5.jpg

2. การพิสูจน์และยืนยันตัวตนบุคคลที่เป็นสัญชาติไทยตามข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ของ ETDA ต้องขออนุญาตจาก ETDA ก่อนไหม ?

ตอบ : ไม่จำเป็น หากหน่วยงานหรือองค์กรต้องการนำข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (ขมธอ.) เลขที่ 18, 19, 20 – 2564 ไปใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนบุคคลสัญชาติไทย สำหรับกิจการภายใน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
✅ ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ETDA จัดทำเพื่อเป็นแนวทางการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีความสอดคล้องกับบริบทการใช้งาน ความต้องการทางธุรกิจ และคุณลักษณะของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลในประเทศไทย สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแก่บุคคลภายนอกให้ระบบดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสาธารณชน
อ่านต่อ ประกาศข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เวอร์ชัน 2.0 จำนวน 3 ฉบับ

GQ_7_wait-FAQ-Consult-_2-copy-3.jpg

3. การจะนำ Digital ID มาใช้ในหน่วยงานหรือองค์กร จะต้องทำตามข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ที่ ETDA เสนอแนะไว้หรือไม่

ตอบ : ไม่จำเป็น เนื่องจากประกาศข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ที่ ETDA ได้จัดทำขึ้นนั้นจะใช้สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้ระบบดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้างได้
หากหน่วยงานหรือองค์กรต้องการนำ ขมธอ. ที่ ETDA เสนอแนะไว้ไปใช้ในกิจการภายในก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ETDA ไม่ได้มีข้อบังคับหรือห้ามใช้วิธีการอื่นใดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
อ่านต่อ ประกาศข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เวอร์ชัน 2.0 จำนวน 3 ฉบับ

GQ_7_wait-FAQ-Consult-_2-copy-2.jpg

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)