TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

ข่าวประชาสัมพันธ์

เพราะปัญหาปากท้องสำคัญที่สุด ต้องรีบเร่งแก้ไข

e-Commerce Documents
  • 29 พ.ย. 62
  • 1341

เพราะปัญหาปากท้องสำคัญที่สุด ต้องรีบเร่งแก้ไข

3 กระทรวงร่วมลงนามการพัฒนาและยกระดับการฝึกอาชีพแก่สตรี มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดี


CHK_4871.png        CHK_4877.png

จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและยกระดับการฝึกอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ระหว่าง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมการจัดหางาน สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) โดยมี สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ณ ห้องประชุมชั้น 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 

จุติ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ได้มีส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรีและครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม ผ่าน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัดจำนวน 8 แห่งตามภูมิภาค คือ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ซึ่งมีการดำเนินงานฝึกอาชีพใน 2 รูปแบบ ได้แก่
  1. การฝึกอบรมอาชีพในสถาบัน เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพสำเร็จตามหลักสูตรแล้ว จะจัดหางานให้ทั้งในลักษณะประกอบอาชีพตนเอง หรือเป็นพนักงานของบริษัท ที่ผ่านมามีผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพภายในสถาบัน มีงานทำกว่าปีละ 15,000 รายต่อปี และ
  2. การฝึกอบรมกลุ่มอาชีพในชุมชน เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มประกอบอาชีพในชุมชน ให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว โดยการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ ส่งเสริมโอกาสการทำธุรกิจสตรี มุ่งสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ปีละกว่า 140 กลุ่มต่อปี
การที่สังคมวันนี้เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพจึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวในการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้ พม. จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขึ้น เพื่อร่วมกันยกระดับการฝึกอาชีพให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริม และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทักษะความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่ร่วมลงนาม ซึ่งจะช่วยสนับสนุน สค. ตามความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน เช่น 
  • กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะสนับสนุนข้อมูลเพื่อการวางแผนการจัดฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายให้ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • กรมการจัดหางานจะช่วยสนับสนุนในการส่งเสริมการมีงานทำแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยการให้บริการจัดหางาน การแนะแนวอาชีพการประกอบอาชีพ และการรับงานไปทำที่บ้าน
  • สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จะช่วยสนับสนุนการฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้มีความรู้และสามารถต่อยอดประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นช่องทางในการทำธุรกิจการค้าสำหรับตนเองหรือกลุ่มอาชีพ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ

CHK_4787.png        CHK_4857-(1).png
 
ETDA จะช่วยสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพทางด้านธุรกรรมออนไลน์และ e-Commerce การใช้สื่อออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างรายได้ ตลอดจนส่งเสริมการใช้มาตรฐานทางด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์และ e-Commerce สำหรับกลุ่มอาชีพ

ด้าน พุทธิพงษ์ กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นคือความจำเป็นเร่งด่วน เพราะในปีหน้าจะมีความต้องการแรงงานอุตสาหกรรมดิจิทัล 40,000 คน และอาจสูงถึง 100,000 คนจากการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่บริษัทจากหลายประเทศจะย้ายฐานการผลิตมา ประเทศไทยต้องมีขีดความสามารถสร้างงานรองรับ แต่ภาคการศึกษาผลิตแรงงานทางด้านนี้ไม่ทัน

กระทรวงดิจิทัลฯ จึงต้องพัฒนากำลังคนด้วยวิธี Upskill หรือยกระดับทักษะของแรงงานเดิมให้ทันสมัย และ Reskill คือพัฒนาคนที่อยู่ในสายแรงงานที่ยังไม่มีทักษะด้านดิจิทัล ให้มีทักษะด้านดิจิทัล เพื่อให้พร้อมสำหรับรองรับความต้องการของตลาดที่จะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)