
Digital Transformation
- 17 เม.ย. 68
-
36
-
เติมความรู้กันแบบเต็มอิ่ม! 🔥 ETDA ขอ สรุปสาระสำคัญจาก Workshop เตรียมทีม Hackathon ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 68 🚀 มาให้แล้ว
Workshop นี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันและผู้สนใจได้ทบทวนความรู้และเทคนิคที่จำเป็นก่อนลงสนามจริงใน ETDA Hackathon: Unlocking the Future of Digital ID โดยผู้เข้าร่วมได้อัปเดตข้อมูลและเทคนิคแบบจัดเต็มตลอดทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย ต้องอ่าน! กับไฮไลท์สำคัญที่ห้ามพลาด

ช่วงเช้า Workshop 2 ภายใต้โจทย์ e-Juristic Person Transaction
Coursework: วิธีการเชื่อมต่อกับ API ระบบ BDEX - คุณพงศกร ริยะมงคล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
Use Case Sharing: e-Stamp Duty - คุณยุทธพล จินะสี นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
Tips: มีการแชร์ Use Case การใช้ e-Stamp Duty โดยชี้ให้เห็นข้อดีเรื่องความสะดวก รวดเร็ว และประโยชน์ในการช่วยตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล พร้อมทั้งยกตัวอย่างการใช้งานจริงและกล่าวถึงความท้าทายที่อาจพบเจอ
.
Use Case Sharing: e-Signature - ได้รับเกียรติจาก คุณเฉลิมวุฒิ หลิ่มสาโรช และคุณจรินทร์ วงศ์สุวรรณวารี ผู้เชี่ยวชาญจาก ETDA
Tips: การใช้ e-Signature ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) มีผลทางกฎหมาย ควบคู่ไปกับการศึกษา Use Case จริง และรับทราบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งาน
.
ปิดท้ายช่วงเช้าด้วย Q&A วิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คำถามที่เกี่ยวข้องกับ API, Use Case, และแนวปฏิบัติ เพื่อนำไปต่อยอดในโจทย์การแข่งขันของตนเองได้
—---------------------------
ต่อด้วยกันที่กิจกรรมช่วงบ่าย Workshop 3 Knowledge Sharing สำหรับผู้เข้าแข่งขัน สำหรับโจทย์ Digital ID for Foreigners
จากผู้เชี่ยวชาญคุณศุภวัส สิทธิธนสกุล ผู้ชำนาญการ ศูนย์นโยบาย พัฒนามาตรฐาน และหลักเกณฑ์การกำกับดูแล จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
“ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคนต่างด้าวตามนิยามของ ETDA และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง อธิบายความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามกฎหมาย จำแนกประเภทของคนต่างด้าวและจุดประสงค์ในการเข้ามาในประเทศไทย (เช่น กลุ่มท่องเที่ยว, กลุ่มแรงงาน, กลุ่มครอบครัว, กลุ่มการศึกษา, กลุ่มรักษาพยาบาล) อธิบายประเภทของคนต่างด้าวตามกฎกระทรวง (ผู้ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร, ผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ผู้ได้รับวีซ่าเข้ามาด้วยจุดประสงค์ต่างๆ ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย) ทั้งยกตัวอย่างธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวในปัจจุบัน (เช่น การเข้าประเทศ, การขอวีซ่า, การทำงาน, การศึกษา, การรักษาพยาบาล)”
.
Use Case Sharing: วิธีการยืนยันตนลงทะเบียนเปิดใช้งานซิมของชาวต่างชาติในไทย - คุณอรวรี เจริญพร (กสทช.)
Tips: กระบวนการและข้อกำหนดวิธีการยืนยันตัวตนชาวต่างชาติเพื่อเปิดใช้งานซิมการ์ดในไทย โดยเน้นกระบวนการที่ต้องใช้เอกสารยืนยันตัวตนที่น่าเชื่อถือ (เช่น หนังสือเดินทาง/Passport) ควบคู่ไปกับการตรวจสอบข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) ตามข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล (กสทช.)
Use Case Sharing: Health ID ของคนต่างชาติในไทย - นพ.นิรทร ศรีสุโข รองผู้อำนวยการสำนักสุขภาพดิจิทัล สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
Tips: การใช้ Health ID สำหรับชาวต่างชาติ อธิบายถึงแนวทางการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีรหัสประจำตัวในระบบข้อมูลกลาง (MOPH-IC) ช่วยให้สถานพยาบาลระบุตัวตนและเข้าถึงประวัติการรักษาที่จำเป็นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
🗣️ และปิดท้ายช่วงบ่ายด้วย Q&A วิทยากรให้ความเห็นตอบคำถามผู้เข้าแข่งขันเกี่ยวข้อง Use Case และแนวทางปฏิบัติ
—---------------------------
🌈สถานีต่อไปสำหรับทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่ง VDO นำเสนอไอเดีย ภายในวันที่ 16 เมษายน 68
📣ประกาศผลทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 10 ทีม ผ่านทาง Facebook ETDA Thailand อย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 22 เมษายน 68
แล้วพบกันในวัน Hackathon Day
.
📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.etda.or.th/digital-id-hackathon
.



