TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

ข่าวประชาสัมพันธ์

ETDA ประชุมหารือ World Bank และ UNCTAD ดันอันดับตัวชี้วัด Ease of Doing Business ไทย ติด Top 20 โลก ภายในปี 65

Foresight Documents
  • 29 มี.ค. 64
  • 1399

ETDA ประชุมหารือ World Bank และ UNCTAD ดันอันดับตัวชี้วัด Ease of Doing Business ไทย ติด Top 20 โลก ภายในปี 65

ETDA จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศที่จัดทำตัวชี้วัดระดับสากล ครั้งที่ 1 (International Panel on the Development of e-Transaction and e-Commerce Indicators, 1st Meeting) เพื่อหารือกับผู้แทนจากหน่วยงานระดับนานาชาติในการจัดทำตัวชี้วัดด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อยกอันดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564

20210329_International_Panel_2.jpg

มีธรรม ณ ระนอง ที่ปรึกษา และรักษาการรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  (สพธอ.) 
หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ที่มาของการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศที่จัดทำตัวชี้วัดระดับสากลในวันนี้ ETDA ได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศ ได้แก่ Rong Chen เศรษฐกร ฝ่ายงานเศรษฐศาสตร์การพัฒนา จากธนาคารโลก (Economist at the Development Economics Vice Presidency of the World Bank Group (WBG)) และ Torbjörn Fredriksson หัวหน้าฝ่ายนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ จากอังค์ถัด (Chief of the ICT Policy Section at the UN Conference on Trade and Development (UNCTAD)) มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดทำและจัดอันดับตัวชี้วัดระดับสากลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อประโยชน์ในการรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนสถานภาพด้านการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ รวมถึงแนวทางในการเพิ่มอันดับตัวชี้วัดระดับสากลของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง World Bank’s Ease of Doing Business ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักภายใต้ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 – 2565 โดยมุ่งเพิ่มอันดับ Ease of Doing Business ของประเทศ ให้มาอยู่ใน Top 20 ของโลกในปี 2565

“ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสำคัญมากขึ้น และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยงและเชื่อมต่อกันมากขึ้นด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งภายในประเทศและกับต่างประเทศ ทั้งนี้ การทำความเข้าใจกระบวนการหรือกรอบแนวคิดในการจัดทำดัชนีตัวชี้วัดของหน่วยงานระดับสากล ล้วนแต่มีความสำคัญอย่างมากในการประเมินความสำเร็จของการพัฒนา ดังนั้น ETDA จึงต้องทำการศึกษาร่วมกับทีมที่ปรึกษา (บริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด) เพื่อวิเคราะห์ Gap Analysis ของกรอบการจัดทำตัวชี้วัด เพื่อวัดผลการพัฒนาด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ และหาแนวทางในการผลักดันให้อันดับตัวชี้วัดระดับสากลของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น มีธรรม กล่าว

ทั้งนี้ Chen กล่าวว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) กลายเป็น Global Trend สำคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดย World Bank ได้มีการพูดคุยกับภาคธุรกิจจากนานาประเทศ พบว่าการสร้างความน่าเชื่อถือในระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งาน เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอันดับตัวชี้วัดต่าง ๆ ของประเทศ ไม่เฉพาะแต่ Ease of Doing Business เท่านั้น โดยเสนอให้ ETDA มุ่งเน้นไปที่การสร้างธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ในภาครัฐและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ [1] การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
 
ด้าน Fredriksson กล่าวว่า การศึกษาและจัดทำตัวชี้วัดด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ ETDA จัดทำขึ้นเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญที่จะช่วยให้ทราบถึงระดับการพัฒนาของประเทศ โดยแนะให้ ETDA นำกรอบแนวทางการจัดเก็บและจัดทำข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจดิจิทัล [2] ที่ UNCTAD ร่วมกับ ITU และหน่วยงานนานาชาติอื่น ๆ กำลังร่วมกันปรับปรุง ไปปรับใช้ให้เกิดการจัดทำตัวชี้วัดที่ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับหลักสากล

นอกจากนี้ ยังทราบดีว่าหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลสถิติและข้อมูลตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่อาจยังขาดการดำเนินการในเชิงบูรณาการ และเสนอให้ ETDA ร่วมกับหน่วยงานหลักด้านสถิติของประเทศ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เข้ามาเป็นหน่วยงานกลางที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

20210329_International_Panel_4.jpg

ผลจากการประชุมในครั้งนี้ และการจัดหารือกับหน่วยงานระดับสากลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ETDA จะพัฒนาไปเป็นข้อเสนอแนะของการพัฒนาตัวชี้วัดที่สะท้อนสถานภาพ ผลลัพธ์เชิงนโยบายและการขับเคลื่อนด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมของประเทศไทย เพื่อมุ่งไปสู่การขยับอันดับของประเทศสำหรับ Ease of Doing Business และ B2C e-Commerce Index ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำด้านดิจิทัล ต่อไป

ยกระดับอันดับตัวชี้วัด Ease of Doing Business ของประเทศไทย ติด Top 20 โลก ภายในปี 65

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)