TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

ข่าวประชาสัมพันธ์

ETDA แนะไอเดีย! สร้างสังคมรู้เท่าทันสื่อ “Digital Communication Booster”  ในเวที EDC Pitching Season 3

Digital Citizen Documents
  • 14 พ.ค. 68
  • 48

ETDA แนะไอเดีย! สร้างสังคมรู้เท่าทันสื่อ “Digital Communication Booster” ในเวที EDC Pitching Season 3

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารหมุนเวียนอย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ ความสามารถในการแยกแยะข่าวจริง-ข่าวปลอม และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ได้กลายเป็นหนึ่งใน “Future Skills” ที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคมดิจิทัล

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) เปิดเวที EDC Pitching Season 3 ภายใต้ธีม “Digital Space Connect: เชื่อมต่อพื้นที่การเรียนรู้สู่การพัฒนาพลเมืองดิจิทัล” ซึ่งเป็นการแข่งขันที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร EDC Trainer รวมทีม เพื่อพัฒนาแคมเปญ สื่อ หรือกิจกรรมที่จะยกระดับทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งหนึ่งในโจทย์สำคัญโจทย์ที่ 2 คือ Digital Communication Booster
            ต่อไปนี้ ETDA จะพาไปเจาะลึกแนวคิดของโจทย์ที่ 2 : Digital Communication Booster ทั้งบริบทของปัญหาที่เกี่ยวกับข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนในระดับโลกและไทยรวมถึงยกตัวอย่างแนวคิดและกิจกรรมต้นแบบ ที่คุณสามารถต่อยอดและพัฒนาเป็นผลงานจริงสำหรับการแข่งขันได้
 
เพราะสังคมดิจิทัลที่เชื่อถือได้... เริ่มต้นจากการรู้เท่าทันสื่อ
รายงาน Global Risks Report 2025 โดย World Economic Forum ชี้ชัดว่า “การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) และข้อมูลบิดเบือน (Disinformation)” คือ ความเสี่ยงอันดับ 1 ในระยะสั้น และติดอันดับ 5 ในความเสี่ยงระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านี่ไม่ใช่แค่ปัญหาชั่วคราว แต่เป็นภัยที่กัดกร่อนความมั่นคงของสังคม
ประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน จากข้อมูล รายงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (พ.ย. 2562 – มี.ค. 2568) พบว่า จากข่าวที่ตรวจสอบ 19,954 เรื่อง มี ข่าวปลอม 35.01% ข่าวบิดเบือน 11.23% ที่เหลือคือข่าวจริงหรือข้อมูลไม่เพียงพอ
ข่าวปลอม” อยู่ใกล้กว่าที่คิด
ภัยจากข้อมูลผิด ๆ มักเริ่มจากการ “แชร์” โดยไม่ตรวจสอบ เช่น

  • ครอบครัวแตกแยกจากการเชื่อและแชร์ข่าวการเมืองที่บิดเบือน
  • ผู้สูงอายุเสียเงินจากการหลงเชื่อข่าวปลอมเรื่องการรักษาสุขภาพ
  • วัยรุ่นเครียดจากการเสพข่าวลวงเกี่ยวกับภาพลักษณ์และความงาม
  • สังคมแตกแยกจากข้อมูลที่ถูกออกแบบมาให้สร้างความเกลียดชัง
เปลี่ยนความกลัวเป็นพลัง สร้างสังคมรู้เท่าทัน
Digital Communication Booster เป็นหนึ่งในโจทย์ของ EDC Pitching Season 3 ที่มุ่งพัฒนา 2 ทักษะสำคัญ:
  1. การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) พัฒนาทักษะการสื่อสารออนไลน์ สร้างโอกาสด้วย Future Skills
  2. การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) รู้เท่าทันข่าวปลอม สร้างคอนเทนต์โดดเด่น ใช้ AI ช่วยเสริมประสิทธิภาพ
โดยเปิดโอกาสให้ทีมจากหลักสูตร EDC Trainer ร่วมออกแบบสื่อและกิจกรรม ที่สามารถใช้ได้จริงในชุมชน และต่อยอดการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
 
ตัวอย่างโครงการสร้างแรงบันดาลใจ
และเพื่อจุดประกายไอเดียให้กับผู้ที่สนใจร่วมแข่งขัน ETDA ขอนำเสนอกรณีศึกษาจากโครงการจริงที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวคิดเล็ก ๆ หากลงมือทำจริง สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้อย่างแท้จริงทั้งในระดับชุมชน ประเทศ หรือแม้แต่ระดับโลก
  • แพลตฟอร์มตรวจสอบข้อเท็จจริง "Cofact Thailand" ที่เป็นพื้นที่เปิดสำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกัน โดยอาศัยพลังของภาคพลเมือง และการระดมสมอง (crowdsourcing) เพื่อต่อสู้กับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและส่งเสริมการมีวิจารณญาณในการรับข้อมูล หลีกเลี่ยงการผูกขาดความจริงไว้ที่แหล่งเดียว  โดยมีคอนเทนต์เพื่อการเรียนรู้ ทั้งบทความ อินโฟกราฟิก วิดีโอ ไปจนถึง E-learning

01_0-(2).jpg

  • "Bad News" (เนเธอร์แลนด์) เกมจำลองให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นผู้สร้างข่าวปลอม เรียนรู้เทคนิคการบิดเบือนข้อมูลเพื่อเข้าใจและต้านข่าวปลอมได้อย่างมีวิจารณญาณ

02_0.jpg

ตัวอย่างกิจกรรมต่อยอดเพื่อจุดประกายไอเดียเพิ่มเติม
นอกจากแรงบันดาลใจจากโครงการระดับโลกและระดับประเทศที่สำเร็จมาแล้ว ยังมีแนวคิดกิจกรรมอีกมากมายที่สามารถหยิบไปต่อยอดได้จริงในระดับชุมชน ทั้งในโรงเรียน องค์กร หรือพื้นที่ที่เราอยู่อาศัย ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ เพื่อเริ่มต้นวางแผนแคมเปญของตัวเอง

  • Digital Detective Workshop: เวิร์กชอปสวมบทบาทนักสืบข่าวปลอม
  • Fake News Game: เกมแข่งขันแยกแยะข่าวจริง-ข่าวปลอม
  • Community Fact-checking Network: เครือข่ายอาสาในชุมชน ตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน
  • Digital Literacy Van: หน่วยเคลื่อนที่นำความรู้ไปสู่กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ
มาร่วมออกแบบแคมเปญส่งเสริมความรู้ด้าน Digital Communication, Media Literacy  หรือเรื่องไหนก็ได้ที่ช่วยให้สังคมปลอดภัยจากข้อมูลบิดเบือน ภายใต้โจทย์ที่ 2 Digital Communication Booster
  • รุ่นมัธยมศึกษา–อุดมศึกษา (อายุ 15–24 ปี)
  • รุ่นวัยทำงาน–บุคคลทั่วไป (อายุ 25 ปีขึ้นไป)
 
ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโอกาสต่อยอดไอเดียจริงในชุมชน สมัครได้ถึง 16 มิถุนายน 2568 ที่ https://bit.ly/4hV6Mmx  สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่านหลักสูตร EDC Plus ได้แล้ววันนี้ ในรูปแบบ e-Learning ได้ที่ https://www.etda.or.th/th/edcplus และติดตามรายละเอียดโครงการ EDC เพิ่มเติมได้ที่ https://www.etda.or.th/th/Our-Service/DigitalWorkforce/edc.aspx หรือ Facebook: ETDA Thailand

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)