TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

ข่าวประชาสัมพันธ์

ETDA เชิญทุกภาคส่วน ร่วมสรุป ร่างแผนพัฒนา “มาตรฐานดิจิทัล” กลไกเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในระดับสากล

e-Standard Documents
  • 26 ส.ค. 64
  • 1969

ETDA เชิญทุกภาคส่วน ร่วมสรุป ร่างแผนพัฒนา “มาตรฐานดิจิทัล” กลไกเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในระดับสากล

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเตรียมจัด การประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ครั้งที่ 2 การจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570 ชวนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐ เอกชน และประชาชนที่สนใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนฯ ที่ได้นำไปปรับปรุงหลังเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เร่งครื่องสร้างกรอบการพัฒนามาตรฐานดิจิทัลของประเทศไทย ภายใต้แนวปฏิบัติที่ไม่ซ้ำซ้อนและเดินไปในแนวทางเดียวกัน วันที่ 27 สิงหาคมนี้ ทางออนไลน์

จากกรอบแนวคิดการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ซึ่งกำหนดนิยามว่า “มาตรฐานดิจิทัล”
 หมายถึง ข้อเสนอแนะ แนวทางปฏิบัติ ข้อกำหนด หรือเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นสำหรับกิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้น ระหว่างบุคคล ภาคเอกชน และภาครัฐ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนสำหรับ 1) บริการดิจิทัล 2) บริการที่เชื่อถือได้ และ 3) เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และบริการดิจิทัล

ในปีงบประมาณ 2564 ETDA จึงได้ดำเนินการในการจัดทำ "แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566 - 2570)" ที่บูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์และนโยบายระดับชาติ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง 

ชาติชาย สุทธาเวศ รองผู้อำนวยการ สายงานยุทธศาสตร์ ETDA กล่าวว่า บทบาทของ ETDA นอกจากการขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ในฐานะเลขานุการแล้ว ตาม พ.ร.บ.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 มาตรา 5(2) ยังกำหนดให้ ETDA มีหน้าที่สำคัญในการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนามาตรฐานดิจิทัลของประเทศไทยในอนาคต สู่การส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีความสอดคล้องกัน เชื่อมโยงกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้งานอย่างมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ สู่การขับเคลื่อนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่าง เท่าเทียม เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศทัดเทียมระดับสากล ยกระดับชีวิตคนไทยด้วยดิจิทัล

ก่อนมาถึงวันนี้ มีการศึกษา หารือ และจัดประชุมกลุ่ม กับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่ง ชาติชาย ได้ย้ำในเวทีครั้งนั้นว่า "แผนนี้ไม่ใช่แผนของ ETDA และไม่ใช่ ETDA ทำเพียงหน่วยงานเดียว แต่เป็นแผน ที่ ETDA อำนวยความสะดวกและเชิญชวนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณาว่า ในภาพของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล มีมาตรฐานอะไรบ้างที่ควรจะดูแล และมีมาตรฐานอะไรบ้าง ที่หน่วยงานต่าง ๆ ขับเคลื่อนไปแล้ว ทำอย่างไรจะมีภาพใหญ่ภาพเดียวกัน และขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยแผนที่ได้จะนำเสนอ คธอ. ก่อนที่จะนำเสนอสภาพัฒน์ เพื่อประกาศใช้ต่อไป"

(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570 นี้ มีวิสัยทัศน์คือ ภายในปี 2570 ประเทศไทยมีมาตรฐานดิจิทัลที่สำคัญและจำเป็น เชื่อมโยงข้อมูลและระบบให้บริการดิจิทัล...

  • Secure ปลอดภัย และน่าเชื่อถือต่อการทำธุรกรรมฯ
  • Verifiable ยืนยันตัวตนและระบุสิทธิ์ของผู้ใช้ได้
  • Paperless & Cashless ลดการใช้กระดาษและชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์
  • Anywhere & Anytime ทำธุรกรรมได้ทุกที่ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ต้องไปที่ทำการ
  • International Linkage เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศได้อย่างไร้รอยต่อ
01_ETDA_Master-Plan_Public-Hearing-2-015.jpg

เป้าหมายหลัก คือ มาตรฐานดิจิทัลเป็นกลไกที่เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล 

เป้าหมายย่อย ได้แก่

  • ภาครัฐและภาคเอกชนให้บริการแบบดิจิทัล และทุกภาคส่วนทำธุรกรรมแบบไร้กระดาษ ชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องไปที่ทำการ
  • บริการดิจิทัลที่สำคัญปรับใช้มาตรฐาน Digital ID และมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนบนบริการดิจิทัล (Digital ID Nation) 
  • ประชาชนใช้บริการดิจิทัลและทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกกิจกรรมในชีวิตประจาวัน ด้วยความเชื่อมั่น
  • อุตสาหกรรมที่สำคัญของไทยสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการให้เป็นดิจิทัลแบบครบวงจร (End-to-End Digital Service) ภายใต้การมีมาตรฐานที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการทุกภาคส่วน
  • ประเทศไทยบูรณาการทำงานร่วมกับต่างประเทศในการกำหนดมาตรฐานดิจิทัล และมีการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานดิจิทัลในระดับสากล


การกำหนดกรอบการขับเคลื่อนงานอยู่ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์ การพัฒนามาตรฐานดิจิทัลของประเทศ (Digital Standardization for Digital Thailand) ที่จะเน้นกลยุทธ์ในการศึกษา วิจัย ทบทวนมาตรฐานแนวปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผน 
2. ยุทธศาสตร์ การสร้างการเชื่อมโยงและบูรณาการระบบ การบริการดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศ (Interoperability and Integration) เน้นกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานเปิด (Open Standard) ในบริการดิจิทัลที่สำคัญ พร้อมผลักดันให้เกิดการใช้งาน สร้างเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการกำหนดมาตรฐานร่วมกันสู่การเชื่อมโยงข้อมูลการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สร้าง Trust Service Provider
3. ยุทธศาสตร์ การสร้างความตระหนักรู้ด้านมาตรฐานดิจิทัลและสนับสนุนการปรับใช้มาตรฐานดิจิทัล (Awareness and Adoption) ที่เน้นกลยุทธ์การสร้างความตระหนักรู้ ให้ความรู้ คำปรึกษาด้านมาตรฐานดิจิทัล สร้างมาตรฐานในการนำไปใช้งานจริง พร้อม ๆ กับการผลักดันให้มีเครื่องมือ กลไก ในการรับรองมาตรฐานดิจิทัล 

ดังนั้น เพื่อให้ร่างฉบับนี้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วน สอคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนสามารถนำไปเป็นกรอบในการดำเนินงานเพื่อร่วมพัฒนามาตรฐานดิจิทัลของประเทศให้เป็นผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ETDA จึงจะจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ครั้งที่ 2 ขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคมนี้ 

ในครั้งนี้ นอกจากจะมีการนำเสนอ “(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) และ (ร่าง) แผนงานโครงการสำคัญ (Flagship Projects)” ที่ปรับปรุงเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันแล้ว ETDA ยังจัดเสวนาในหัวข้อ “การพัฒนามาตรฐานดิจิทัลนำไปสู่การเป็นดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Standardization for Digital Thailand) Thailand)” เพื่อแชร์มุมมองของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ทั้งจาก ETDA และผู้แทนทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

Slide4.JPG

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงาน การประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ครั้งที่ 2 การจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570 ได้ ในวันที่ 27 สิงหาคมนี้ เวลา 09.00 – 12.00 น. ผ่านช่องทางการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Microsoft Team) : https://qrgo.page.link/LxxiF หรือชมผ่านเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/ETDA.Thailand

01_ETDA_Master-Plan_Public-Hearing-2-002.jpg


ดาวน์โหลดเอกสารประกอบได้แล้ว ท้ายข่าวหรือสแกน QR Code ในภาพด้านบน

 

มุ่งสร้างมาตรฐานดิจิทัล เพิ่มกลไกขับเคลื่อนประเทศไทย แข่งขันได้ในระดับสากล 

File Download

Rating :
Avg: 1 (1 ratings)