TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

OUR SERVICES

บริการของเรา

กฎหมายดิจิทัล

กฎหมายดิจิทัล

เสริมทักษะคนไทยอย่างรู้เท่าทัน เพิ่มโอกาสใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

สถาบัน ADTE (เอดเต้) ACADEMY OF DIGITAL TRANSFORMATION BY ETDA

KNOWLEDGE

SHARING

คลังความรู้

ETDA เปิด Next step มั่นใจ ก้าวต่อไป Digital ID Framework ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2568–2570)

ในวันที่บริการดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่ “ความสะดวก” ที่ประชาชนคาดหวังอีกต่อไป แต่คือ “ความมั่นใจ” ที่จะยืนยันได้ว่า “เราคือใคร” อย่างปลอดภัย ถูกต้อง และตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นภาษี เปิดบัญชีธนาคาร ลงทะเบียนเรียน รับสิทธิสวัสดิการ หรือเข้าถึงบริการของภาครัฐและเอกชน ทุกอย่างล้วนเริ่มต้นจากการพิสูจน์ตัวตนที่เชื่อถือได้

สกัดภัยออนไลน์ ด้วย 4 คู่มือใหม่จาก ETDA เสริมความปลอดภัยแพลตฟอร์มดิจิทัล คนไทยใช้งานอย่างมั่นใจ

ในโลกที่ทุกอย่างเกิดขึ้นได้แค่ “คลิกเดียว” ตั้งแต่สั่งของออนไลน์ ดูหนัง ฟังเพลง ไปจนถึงไถโซเชียล ภัยออนไลน์ก็แฝงตัวมาได้ง่ายไม่แพ้กันและนับวันจะยิ่งพบมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากทักษะการรู้เท่าทันภัยของผู้ใช้งานเอง หรือแม้แต่มาตรการจากภาครัฐจะเป็นปราการสำคัญ แต่ด่านที่เป็นต้นน้ำที่ไม่ควรถูกมองข้าม คือ

ปฏิทินกิจกรรม

EVENT CALENDAR

ETDA

NEWS

25 พ.ค. 68

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การรักษาสมดุลระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ได้กลายเป็นความท้าทายสำคัญของคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ประชากรมีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก

20 พ.ค. 68

เมื่อเร็วนี้ๆ - นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดการประชุมวิชาการ “The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งที่ 3/2568 โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง

ศัพท์ความรู้

คำที่ถูกค้นหามากที่สุด

  • e-Commerce

    e-Commerce (Electronic Commerce) คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง [1]   e-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) ที่ขอบเขตกว้างกว่า โดยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกรรมทางออนไลน์ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์, การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่าง ๆ บนเครือข่าย, การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย, การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร และการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น [2]   ที่มา: [1] สวทช. [2] ICT Law Center

  • ISP (Internet Service Provider)

    Internet service provider (ISP) หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต เช่น Dial, DSL, เคเบิลโมเด็ม ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น   แหล่งข้อมูลอ้างอิง: http://www.thefreedictionary.com/isp

  • กฎหมายอาญา

    หมายถึง กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและสังคม โดยกฎหมายอาญากำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด แบ่งได้ ๕ ประการ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘) ดังนี้ (๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน